วันพฤหัสบดีที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ ตำบลสองสลึง


กับรางวัลลูกโลกสีเขียว

ก็ขอใช้พื้นที่ตรงนี้เพื่อรวมภาพวีดีโอ ภาพนิ่ง ของผู้ใหญ่สมศักดิ์ เครือวัลย์ และศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ ตำบลสองสลึง ใว้พลางๆก่อนครับ











วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2552

วันอาทิตย์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2552

ทำไมใช้ชื่อปราชญ์แห่งสยามประเทศ

ภูมิปัญญาไทย ในที่นี้เป็นการนำเอาองค์ความรู้ครั้งเก่าก่อนมาเผยแพร่ ทั้งนี้ย่อมเกี่ยวกับบรรพบุรุษไทย ที่ได้รักษาชาติบ้านเมืองมา ผมคงจะไม่กล่าวมากกว่านี้ครับลองรับฟังกันดู


เปิดตัวฐานข้อมูลศูนย์ปราชญ์

เจตนารมณ์ในการจัดเก็บข้อมูลองค์ความรู้ต่าง ๆ บนพื้นแผ่นดินไทย เพื่อง่ายต้องการเข้าถึงและรับรู้ให้แก่อนุชนรุ่นหลังเพื่อรักษาไว้สืบไป
ประถมบทเกิดจากการเข้ามาเรียนรู้ในเรื่องการปรับปรุงสภาพดินจากท่านผู้ใหญ่สมศักดิ์ เครือวัลย์ (ขออนุญาตกล่าวถึงเพราะท่านเป็นบุคคลแรกที่เชื่อมต่อระหว่างการทำเกษตรและการสอนให้เข้าใจถึงปรัชญาและแนวทางของเศรษฐกิจพอเพียง) หลังจากที่ได้อบรม ณ ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ ตำบลสองสลึง ก็ได้มีโอกาสติดตามท่านไปเรียนรู้และดูงานจากสถานที่จริง ๆ ในหลายๆสถานที่ ต่างกรรมต่างวาระ จึงเกิดความคิดว่าสิ่งที่เรียกว่าความรู้หรือองค์ความรู้ของภูมิปัญญาไทยนั้นมีมากมาย และที่น่าเสียดายคือคนในรุ่นปัจจุบันมิได้ใส่ใจหรือเก็บเอามาใช้ หรือแม้กระทั่งทะนุบำรุงรักษาให้ยังคงอยู่เอาไว้
การกระทำที่กำลังปฏิบัติอยู่นี้ จะสร้างพื้นที่ใหม่ขึ้นมาบนระบบดีจีตรอนหรือระบบอินเตอร์เน็ต เพราะในปัจจุบันต้องยอมรับว่าเทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามาเบียด ภูมิปัญญาของคนเก่าก่อนไปมากแล้ว ท่านผู้อ่านครับลองตั้งสติดี ๆ และพิจารณาตามดังนี้น่ะครับ “สิ่งที่เก็บองค์ความรู้ได้นานที่สุดคืออะไรทราบไหมครับ”
สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ๑ – ๕๐ ปี
แผ่นดิสเกตส์ หรือ อาร์ดดิส ก็มีอายุแค่ ๑ – ๑๐ ปี
และมีสิ่งเดียวครับที่มีอายุมากกว่า ๑๐๐ – ๑,๐๐๐ ปี คือ หินครับ หรือศิลาจารึกครับ
ถึงอย่างไรก็ตามผมเองก็จะเป็นหน่วยข้อมูลเล็ก ๆ ที่จะพยายามเก็บรวบรวมองค์ความรู้ในศาสตร์ต่าง ๆ ของแผ่นดินไทยให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
ปัจฉิมบทก็คือ ปราชญ์แห่งสยามประเทศ